วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

เทคนิคทางการยศาสตร์สำหรับการทำงานที่บ้าน ในช่วงโควิด-19

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย รศ. ดร.สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ 
               สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


การทำงานที่บ้าน (work from home) หรือการทำงานทางไกล (telework) เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากต้องเผชิญในช่วงปิดเมือง เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีนโยบายให้บุคลากรทำงานที่บ้านในช่วงนี้มากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะส่งผลดีในแง่ความปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ขณะเดียวกัน การทำงานที่บ้านก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพในการทำงาน  เนื่องจากการทำงานที่บ้านมักอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วย ซึ่งพนักงานสามารถทำงานในที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งบนโซฟาหรือบนเตียงนอน อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง คอเคล็ด เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ และปัญหาการเมื่อยล้าสายตา

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563

การปรับปรุงสภาพการทำงานแบบ Low-hanging Fruit

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย รศ.ปวีณา มีประดิษฐ์ 
อาจารย์สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยบูรพา


🏃 แนวทางการแก้ปัญหาทางกายรศาสตร์โดยการปรับปรุงสภาพการทำงานแบบใช้ต้นทุนน้อย แต่ลดความเสี่ยงได้ เป็นวิธีการที่ควรได้รับการพิจารณาในปัจจุบัน เนื่องจากสถานประกอบกิจการมักจะเข้าใจผิดว่าการแก้ปัญหาทางกายศาสตร์ต้องใช้งบประมาณมาก



วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

การคำนวณลักษณะงานที่มีเวลางานไม่ปกติและการปรับค่าขีดจำกัดการได้รับสัมผัสสารในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Adjusted TLV)

Meet the Academic >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน

เขียนโดย ผศ.ดร. ฐิติวร ชูสง, คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์


🔥 สาระสังเขป 


          ลักษณะงานที่มีเวลางานไม่ปกติมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การทำงานนานกว่าวันละ 8 ชั่วโมง เช่น 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ หรือทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสสารในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Adjusted TLV) ควรมีการปรับเมื่อพนักงานต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับสารในร่างกายสูงสุดมีค่าสูงเกินระดับที่ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย


การยศาสตร์กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี
รองผู้อำนวยการสำนักวิจัย, อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์


🏃การยศาสตร์ (Ergonomics) หรือปัจจัยมนุษย์วิศวกรรม (Human Factors Engineering) หมายถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานต่างๆ โดยการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพของมนุษย์มาประสานเข้ากับองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและกลศาสตร์เพื่อนำมาออกแบบและจัดสภาพการปฏิบัติงานให้เกิดความเหมาะสมกับความสามารถและข้อจำกัดของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีไม่เกิดความเมื่อยล้าและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานลงนั่นเอง


วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การประเมินการสัมผัสสารเคมีแบบ TWA

Meet the Academic >> หมวดสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

เขียนโดย รศ.สราวุธ สุธรรมาสา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ.

สาระสังเขป
       การประเมินการสัมผัสสารเคมี เป็นเรื่องของการประเมินว่าผู้ทำงานจะ “หายใจ” เอาอากาศที่มีสารเคมีฟุ้งกระจายปนเปื้อนอยู่ เข้าสู่ร่างกายเกินมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่